วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

  การทำความเคารพผู้ใหญ่
การทำความเคารพผู้ใหญ่ เป็นวัฒนธรรมประเพณีไทยมีการเรียนรู้รู้เรื่องนี้ในครอบครัว ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นและบุคคลที่มีส่วนช่วยสร้างความเข้าใจ ปลูกฝังลูกตั้งแต่วัยเยาว์ผ่านสิ่งต่างๆ ที่ใกล้ตัวลูกก็คือคุณพ่อคุณแม่ ฉบับนี้เรามีช่องทาง วิธีการสอนให้ลูกปฏิบัติมาบอกค่ะ

 



ที่บ้าน

        
เริ่มจากการแสดงออกของคุณพ่อคุณแม่ที่มีต่อญาติผู้ใหญ่ ไม่ว่าคำพูด ท่าทาง การแสดงออก ที่เกิดขึ้นในบ้าน เช่น คุณแม่พูดกับคุณตาด้วยคำที่สุภาพนุ่มนวล หรือคุณพ่อทำความเคารพคุณปู่คุณย่า หรือกับญาติผู้ใหญ่ที่รู้จัก แบบอย่างเหล่านี้ เป็นการแสดงออกที่เอื้อต่อการรับรู้และสอนลูก
ที่โรงเรียน

        
คือสถานที่ที่ลูกได้รับความรู้ ชุมทรัพย์ทางปัญญา โดยมีคุณเป็นผู้อบรมสั่งสอนมอบให้คุณครูจึงเป็นผู้ใหญ่อีกท่านที่ลูกต้องให้ความเคารพ เช่น คำพูดใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวลขณะที่พูดคุย หรือการกระทำ เช่น การยกมือไหว้ ลุก นั่ง เดิน ยืน กับคุณครู
วัด

        
คุณควรหาโอกาสสอนลูกจากการทำกิจกรรมทางศาสนา ไม่ว่าการทำบุญตักบาตรหรือปฏิบัติธรรม เช่น การกราบไหว้, การสำรวมทั้งวาจา กิริยา และใจ เมื่ออยู่ในสถานปฏิบัติตาม เพื่อเป็นการแสดงออกถึงการทำความเคารพสถานที่และพระสงฆ์ หรือการปฏิบัติตามหลักศาสนาที่นับถืออยู่
เทศกาล วันสำคัญ
เช่น วันสงกรานต์ ที่ลูกมีโอกาสได้พบญาติสนิทหรือมีเพื่อนบ้านมาที่บ้าน ก็ตาม คุณสามารถสอนลูกเรียนรู้และปฏิบัติจากกิจกรรมนั้นๆ เช่น ยกมือไหว้ และกล่าวสวัสดีค่ะ/ครับเป็นมารยาทในการทำความเคารพผู้ใหญ่ เมื่อมีการรับของสอนลูกพูดชอบคุณค่ะ/ครับ พร้อมยกมือไหว้ หรือเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง หรือกระดิกเท้า เป็นต้น

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554


การเคารพพระสงฆ์





ลักษณะ
การเคารพ

ศาสนาเป็นสถาบันสำคัญยิ่งสำหรับชนในชาติเพราะคำสอนของศาสดาย่อมเป็นหลักทางทางใจ และเป็นแนวดำเนินชีวิตให้อยู่ในทำนองคลองทำ เพื่อความสุขสงบของชนในชาติ คนไทยได้ชื่อว่าเป็นชาติที่มีใจนับถือมั่นอยู่ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และปฏิบัติตามศาสนาประเพณีตลอดปีมิได้ขาด

การเคารพพระพุทธรูปซึ่งสมมุติเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ และเคารพพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า

๑.นั่งคุกเข่ากระหย่งเท้าพนมมือยกขึ้นระหว่างคิ้วปลายนิ้วจรดไรผมแล้วกราบแบมือราบกับพื้น๓ครั้งให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างมือที่แบราบ เมื่อจบแล้วพนมมือขึ้นเหนือคิ้วอีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า กราบในท่าเบญจางคประดิษฐ์

๒. การกราบทั้งสามครั้งนี้มีความหมายดังนี้
การกราบครั้งที่ ๑ กราบเพื่อระลึกถึงองค์พระพุทธเจ้า
การกราบครั้งที่ ๒ กราบพระธรรมคือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ผู้หญิงนั่งพับเพียบพนมมือระหว่างคิ้ว หมอบกราบแบมือทั้งสองข้างลงกับพื้น ๓ ครั้ง

๔. ถ้าเห็นพระสงฆ์ในเวลาที่เรายืนอยู่นอกสถานบ้านเรือนจะย่อเข่าลงหรือไหว้ก็ได้แต่ให้ปลายนิ้วมือจรดที่ตีนผม

๕. การถวายของพระ
ชาย ถวายได้โดยตรงต่อมือพระสงฆ์ท่านเลยคุกเข่ากราบแบมือครั้งเดียว
หญิง ต้องคอยให้ท่านปูผ้าชิ้นเล็กที่เรียกว่า ผ้ากราบ เพื่อรับเสียก่อนจึงว่างถวายลงบนผ้านั้นเมื่อถวายแล้วกราบอีกครั้ง โดยหมอบกราบแบมือครั้งเดียว

๖. การตักบาตร ถ้ารองเท้าไม่สุภาพควรถอดรองเท้าถ้าใช้เครื่องแบบหรือแต่งตัวแบบสากลไม่ต้องถอดก็ได้หยิบของลงในบาตรพระด้วยความระมัดระวัง วางทีละชิ้นโดยใส่ข้าวก่อนเสมอ

๗. ผู้หญิงไปหาพระสงฆ์ต้องนั่งพับเพียบให้เรียบร้อยไม่ควรอยู่ตามลำพังกับพระสงฆ์ต้องมีบุรุษนั่งอยู่ด้วยจึงจะถูกตามวินัยสงฆ์

๘. การพูดกับพระสงฆ์ต้องมีสำมาคารวะไม่พูดเล่นพล่อย ๆ ซึ่งฟังดูเป็นการขาดความเคารพต่อพระสงฆ์

๙. ผู้หญิงห้ามแตะตัวพระแม้แต่ชายผ้าสบงหรือจีวรที่ท่านนุ่งห่มอยู่ก็ไม่ได้

๑๐. ไม่หยิบของที่เตรียมไว้ตักบาตรมารับประทาน

๑๑. ไม่จำเป็นจะต้องรับประทานอาหารที่นำมาเลี้ยงหน้าศพ ต่อหน้าพระสงฆ์ที่นั่งอยู่ในพิธี

๑๒. กุลสตรีไม่ควรแต่งตัวไม่สุภาพไปวัด เช่น นุ่งกางเกงขาสั้น ถือว่าเป็นการไม่รู้จักกาละเทศะ

๑๓. ไม่สรวลเสเฮฮาในวัดควรสงบและสำรวมอิริยาบถ

๑๔. ถ้าจะถวายปัจจัยแด่พระสงฆ์ควรเขียนจำนวนลงในใบปวารนาบัตรใส่ซองถวาย


ประเพณีสงกรานต์






ช่วงเวลาตามประเพณีเดิมของไทย วันตรุษกับวันสงกรานต์แยกเป็น ๒ วัน คือ วันสิ้นปีทางจันทรคติ ได้แก่ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันตรุษ ส่วนวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ คือ วันที่ดวงอาทิตย์ก้าวขึ้นสู่ราศีเมษ มักตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันสงกรานต์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงรวมวันขึ้นปีใหม่มาไว้ในวันที่ ๑ เมษายน เรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์คำว่า ตรุษ แปลว่า ตัดหรือขาด คือ ตัดปี ขาดปี หมายถึง วันสิ้นปี ตรุษเป็นพิธีแสดงความยินดีที่ได้มีชีวิตผ่านพ้นมาด้วยความสวัสดีในรอบปีหนึ่ง ๆ เรียกว่า ส่งปีเก่า
สงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้นการย้ายที่ เคลื่อนที่ คือ พระอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ ๑๓,๑๔,๑๕ เมษายน ทุกปี แต่วันสงกรานต์ คือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก

ความสำคัญ
เป็นเทศกาลวันสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ของคนไทย ซึ่งยึดถือสืบเนื่องมาแต่โบราณ เป็นระยะเวลาเข้าฤดูร้อนที่เสร็จจากการเก็บเกี่ยวข้าว จึงว่างจากการงานประจำ มีการละเล่นสนุกสนานรื่นเริงร่วมกันในแต่ละหมู่บ้าน ตำบลหรือเมืองหนึ่ง ๆ แม้ปัจจุบันทางราชการประกาศวันที่ ๓๑ ธันวาคม เป็นวันสิ้นปี และวันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ประเพณีการทำบุญและการรื่นเริงในวันตรุษและสงกรานต์ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย
ตรุษสงกรานต์ถือเป็นนักขัตฤกษ์ที่ขึ้นหน้าขึ้นตามาแต่ดึกดำบรรพ์ ก่อนจะถึงวันสงกรานต์จะมีการเตรียมเครื่องแต่งตัวประกวดประขันกัน

พิธีกรรม
วันตรุษและวันสงกรานต์เป็นเทศกาลสำคัญที่คนไทยยังถือว่าเป็นวันสิ้นปี วันสงกรานต์คือวันขึ้นปีใหม่ จึงต้องเตรียมงานเป็นการใหญ่จนมีคนพูดกัน "ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่" สิ่งที่ตระเตรียมเป็นพิเศษ คือ
๑. เครื่องนุ่งห่มเพื่อใส่ในโอกาสไปทำบุญที่วัด ตลอดจนเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย
๒. ของทำบุญ เมื่อใกล้จะถึงวันงานก็เตรียมของทำบุญเลี้ยงพระ และที่เป็นพิเศษ ๒ อย่าง คือ ข้าวเหนียวแดงในวันตรุษ และขนมกวนหรือกะละแมในวันสงกรานต์ ซึ่งสิ่งของ ๒ อย่างนี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของการทำบุญตรุษสงกรานต์เหมือนกับการทำกระยาสารท เพราะนอกจากทำขึ้นเพื่อทำบุญแล้วยังแลกเปลี่ยนแจกจ่ายกันในหมู่บ้านใกล้เคียง
๓. การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อาศัยตลอดจนบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้ดูเรียบร้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บูชาพระและที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ แม้เสื้อผ้าที่ใช้สอยก็ต้องซักฟอกให้สะอาดหมดจดโดยถือว่าสกปรกให้สิ้นไปพร้อมกับปีใหม่และต้อนรับปีใหม่ ด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
๔. สถานที่ทำบุญ วัดเป็นสถานที่ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ และทำต่อเนื่องกันหลายวัน เมื่อทำความสะอาดกุฏิที่อาศัยแล้ว ยังต้องทำความสะอาดหอสวดมนต์ โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ตลอดจนลานวัด เพื่อให้ดูร่มรื่นชื่นตาชื่นใจของผู้มาทำบุญในวันสำคัญ เพราะต้องใช้ในกิจกรรมหลายอย่าง ได้แก่ การทำบุญตักบาตร สวดมนต์ เลี้ยงพระ การฟังเทศน์ การก่อเจดีย์ทราย สรงน้ำพระ บังสุกุลอัฐิ การปล่อยนกปล่อยปลา บางวัดชาวบ้านยังใช้ลานวัดเป็นสถานที่รื่นเริงสนุกสนาน เช่น สาดน้ำและมีการเล่นอื่น ๆ เช่น ช่วงชัย ชักกะเย่อ เข้าทรงแม่ศรี เป็นต้น
การทำบุญถือเป็นกิจกรรมสำคัญในภูมิภาคนั้น ถ้าตรุษกับสงกรานต์ต่อเนื่องกันจะทำติดต่อกันไป แต่ถ้าไม่ต่อเนื่องกันก็จะทำบุญอันเป็นส่วนของตรุษส่วนหนึ่งแล้วเว้นระยะไปเริ่มทำบุญวันสงกรานต์อีกส่วนหนึ่ง แต่ในบางจังหวัดแม้วันตรุษและสงกรานต์อยู่ห่างกันมากน้อยเพียงใด ก็คงทำบุญต่อเนื่องกันจนสิ้นวันสงกรานต์ การรื่นเริงจะเริ่มมีตั้งแต่วันตรุษติดต่อกันไปจนสิ้นวันสงกรานต์ ไม่ว่าวันตรุษและวันสงกรานต์จะต่อเนื่องกันหรือไม่
แต่ในส่วนกลางคือกรุงเทพมหานคร มีการทำบุญและการรื่นเริงกัน เฉพาะในวันมหาสงกรานต์เท่านั้น และมักจะมีวันเดียวกันคือวันที่ ๑๓ เมษายน

การทำบุญ
มีการทำบุญในตรุษสงกรานต์ทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ เช่น การก่อพระเจดีย์ทราย การปล่อยนกปล่อยปลา การสรงน้ำพระ การสรงน้ำพระพุทธรูป การสรงน้ำพระภิกษุสามเณร การรดน้ำผู้ใหญ่ การทำบุญอิฐ การสาดน้ำ การแห่นางแมว

สาระ
๑. เป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงการที่ชีวิตได้ผ่านพ้นไปปีหนึ่ง และจะต้องเผชิญกับชีวิตในปีใหม่อีกต่อไปด้วยความไม่ประมาท
๒. เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้นไป
๓. เป็นการส่งเสริมความสำนึกในกตัญญูกตเวทีที่แสดงต่อบุพการี และบรรพบุรุษ
๔. เป็นการสืบทอดการละเล่น การละเล่นพื้นเมือง และประเพณีอันดีงาม
๕. มีการชักชวนให้งดเว้นอบายมุข เช่น งดเว้นการดื่มสุราเมรัย การเล่นการพนัน



ช่วงเวลาตามประเพณีเดิมของไทย วันตรุษกับวันสงกรานต์แยกเป็น ๒ วัน คือ วันสิ้นปีทางจันทรคติ ได้แก่ วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันตรุษ ส่วนวันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ คือ วันที่ดวงอาทิตย์ก้าวขึ้นสู่ราศีเมษ มักตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน เป็นวันสงกรานต์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงรวมวันขึ้นปีใหม่มาไว้ในวันที่ ๑ เมษายน เรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์
คำว่า ตรุษ แปลว่า ตัดหรือขาด คือ ตัดปี ขาดปี หมายถึง วันสิ้นปี ตรุษเป็นพิธีแสดงความยินดีที่ได้มีชีวิตผ่านพ้นมาด้วยความสวัสดีในรอบปีหนึ่ง ๆ เรียกว่า ส่งปีเก่า
สงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้นการย้ายที่ เคลื่อนที่ คือ พระอาทิตย์ขึ้นสู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ ๑๓,๑๔,๑๕ เมษายน ทุกปี แต่วันสงกรานต์ คือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก

ความสำคัญ
เป็นเทศกาลวันสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ของคนไทย ซึ่งยึดถือสืบเนื่องมาแต่โบราณ เป็นระยะเวลาเข้าฤดูร้อนที่เสร็จจากการเก็บเกี่ยวข้าว จึงว่างจากการงานประจำ มีการละเล่นสนุกสนานรื่นเริงร่วมกันในแต่ละหมู่บ้าน ตำบลหรือเมืองหนึ่ง ๆ แม้ปัจจุบันทางราชการประกาศวันที่ ๓๑ ธันวาคม เป็นวันสิ้นปี และวันที่ ๑ มกราคม ของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ แต่ประเพณีการทำบุญและการรื่นเริงในวันตรุษและสงกรานต์ก็ยังคงมีอยู่ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย
ตรุษสงกรานต์ถือเป็นนักขัตฤกษ์ที่ขึ้นหน้าขึ้นตามาแต่ดึกดำบรรพ์ ก่อนจะถึงวันสงกรานต์จะมีการเตรียมเครื่องแต่งตัวประกวดประขันกัน

พิธีกรรม
วันตรุษและวันสงกรานต์เป็นเทศกาลสำคัญที่คนไทยยังถือว่าเป็นวันสิ้นปี วันสงกรานต์คือวันขึ้นปีใหม่ จึงต้องเตรียมงานเป็นการใหญ่จนมีคนพูดกัน "ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่" สิ่งที่ตระเตรียมเป็นพิเศษ คือ
๑. เครื่องนุ่งห่มเพื่อใส่ในโอกาสไปทำบุญที่วัด ตลอดจนเครื่องประดับตกแต่งร่างกาย
๒. ของทำบุญ เมื่อใกล้จะถึงวันงานก็เตรียมของทำบุญเลี้ยงพระ และที่เป็นพิเศษ ๒ อย่าง คือ ข้าวเหนียวแดงในวันตรุษ และขนมกวนหรือกะละแมในวันสงกรานต์ ซึ่งสิ่งของ ๒ อย่างนี้ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของการทำบุญตรุษสงกรานต์เหมือนกับการทำกระยาสารท เพราะนอกจากทำขึ้นเพื่อทำบุญแล้วยังแลกเปลี่ยนแจกจ่ายกันในหมู่บ้านใกล้เคียง
๓. การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อาศัยตลอดจนบริเวณใกล้เคียง เพื่อให้ดูเรียบร้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บูชาพระและที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ แม้เสื้อผ้าที่ใช้สอยก็ต้องซักฟอกให้สะอาดหมดจดโดยถือว่าสกปรกให้สิ้นไปพร้อมกับปีใหม่และต้อนรับปีใหม่ ด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
๔. สถานที่ทำบุญ วัดเป็นสถานที่ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ และทำต่อเนื่องกันหลายวัน เมื่อทำความสะอาดกุฏิที่อาศัยแล้ว ยังต้องทำความสะอาดหอสวดมนต์ โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ตลอดจนลานวัด เพื่อให้ดูร่มรื่นชื่นตาชื่นใจของผู้มาทำบุญในวันสำคัญ เพราะต้องใช้ในกิจกรรมหลายอย่าง ได้แก่ การทำบุญตักบาตร สวดมนต์ เลี้ยงพระ การฟังเทศน์ การก่อเจดีย์ทราย สรงน้ำพระ บังสุกุลอัฐิ การปล่อยนกปล่อยปลา บางวัดชาวบ้านยังใช้ลานวัดเป็นสถานที่รื่นเริงสนุกสนาน เช่น สาดน้ำและมีการเล่นอื่น ๆ เช่น ช่วงชัย ชักกะเย่อ เข้าทรงแม่ศรี เป็นต้น
การทำบุญถือเป็นกิจกรรมสำคัญในภูมิภาคนั้น ถ้าตรุษกับสงกรานต์ต่อเนื่องกันจะทำติดต่อกันไป แต่ถ้าไม่ต่อเนื่องกันก็จะทำบุญอันเป็นส่วนของตรุษส่วนหนึ่งแล้วเว้นระยะไปเริ่มทำบุญวันสงกรานต์อีกส่วนหนึ่ง แต่ในบางจังหวัดแม้วันตรุษและสงกรานต์อยู่ห่างกันมากน้อยเพียงใด ก็คงทำบุญต่อเนื่องกันจนสิ้นวันสงกรานต์ การรื่นเริงจะเริ่มมีตั้งแต่วันตรุษติดต่อกันไปจนสิ้นวันสงกรานต์ ไม่ว่าวันตรุษและวันสงกรานต์จะต่อเนื่องกันหรือไม่
แต่ในส่วนกลางคือกรุงเทพมหานคร มีการทำบุญและการรื่นเริงกัน เฉพาะในวันมหาสงกรานต์เท่านั้น และมักจะมีวันเดียวกันคือวันที่ ๑๓ เมษายน

การทำบุญ
มีการทำบุญในตรุษสงกรานต์ทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ เช่น การก่อพระเจดีย์ทราย การปล่อยนกปล่อยปลา การสรงน้ำพระ การสรงน้ำพระพุทธรูป การสรงน้ำพระภิกษุสามเณร การรดน้ำผู้ใหญ่ การทำบุญอิฐ การสาดน้ำ การแห่นางแมว

สาระ
๑. เป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงการที่ชีวิตได้ผ่านพ้นไปปีหนึ่ง และจะต้องเผชิญกับชีวิตในปีใหม่อีกต่อไปด้วยความไม่ประมาท
๒. เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้แพร่หลายยิ่งขึ้นไป
๓. เป็นการส่งเสริมความสำนึกในกตัญญูกตเวทีที่แสดงต่อบุพการี และบรรพบุรุษ
๔. เป็นการสืบทอดการละเล่น การละเล่นพื้นเมือง และประเพณีอันดีงาม
๕. มีการชักชวนให้งดเว้นอบายมุข เช่น งดเว้นการดื่มสุราเมรัย การเล่นการพนัน

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ







ช่วงเวลาประมาณเดือนหกของทุกปี
ความสำคัญ
เป็นพระราชพิธีเก่าแก่ที่แสดงถึงการเริ่มต้นฤดูทำนา ซึ่งจะเป็นแบบอย่างและเสริมสร้างให้เกิดขวัญกำลังใจ รวมทั้งสิริมงคลแก่เกษตรกรไทย

พิธีกรรม
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญประกอบด้วย ๒ พิธีรวมกัน คือ
๑. พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพระราชพิธีทางสงฆ์ กระทำกันในวันแรก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีขั้นตอนพิธีที่สำคัญดังต่อไปนี้
๑.๑ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังอัญเชิญพระพุทธรูปประจำรัชกาลต่าง ๆ รวมทั้งรัชกาลปัจจุบัน และเทวรูปองค์สำคัญมาตั้งบนม้าหมู่ในธรรมาสน์ศิลา หน้าฐานชุกชีพุทธบัลลังก์บุษบกพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ใต้ธรรมาสน์ศิลาเป็นกระบุงเงิน กระบุงทองอย่างละคู่ ซึ่งบรรจุข้าวเปลือกพันธุ์ดี และถุงบรรจุเมล็ดพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ เช่น ผักกาด ข้าวโพด แตงกวา ถั่ว ฯลฯ
๑.๒ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งพระยาแรกนา แต่งกายเครื่องแบบครึ่งยศ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเทพีทั้ง ๔ แต่งกายชุดไทย ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วไปนั่งที่เก้าอี้เฝ้า
๑.๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระพุทธรูปสำคัญ พระราชาคณะถวายศีลจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระสุหร่ายถวายดอกไม้บูชาแก่พระพุทธคันธารราษฏร์ ทรงอธิษฐานเพื่อความสมบูรณ์แห่งพืชผลของราชอาณาจักรไทย
๑.๔ หัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีพืชมงคล พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์
๑.๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงหลั่งน้ำสังข์ พระราชทานใบมะตูม ทรงเจิมพระราชทานธำมรงค์กับพระแสงปฏักแก่พระยาแรกนา ส่วนเทพีทั้ง ๔ ทรงหลั่งน้ำสังข์พระราชทานใบมะตูม ทรงเจิม พนักงานประโคมฆ้องชัย
๑.๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก
๒. พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ กระทำกันในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลท้องสนามหลวง ซึ่งจัดตั้งโรงพิธีประดิษฐานเทวรูปสำคัญ เช่น พระอิศวร พระพรหม ระนารายณ์ ฯลฯ มีขั้นตอนพิธีสำคัญตามลำดับดังนี้
๒.๑ พระยาแรกนาพร้อมด้วยเทพีทั้งแต่งกายตามแบบประเพณีโบราณ เดินทางออกจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปยังมณฑลพิธีสนามหลวง
๒.๒ พระยาแรกนาเข้าสู่โรงพิธี จุดธูปเทียนบูชาเทวรูปสำคัญ หัวหน้าพราหมณ์หลั่งน้ำสังข์ที่มือ และให้ใบมะตูมแก่พระยาแรกนาและเทพีทั้ง ๔
๒.๓ พระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐาน หยิบผ้านุ่งแต่งกายหรือเสี่ยงทายผ้านุ่ง โดยการสอดมือหยิบผ้านุ่งที่วางเรียงรายอยู่ใต้ผ้าคลุม ซึ่งมีผ้านุ่งรวม ๓ ผืน คือ ขนาดกว้าง ๔ คืบ ๕ คืบ และ ๖ คืบ เมื่อพระยาแรกนาหยิบได้ผ้านุ่งผืนใด จะสวมผ้าผืนนั้นทับลงบนผ้านุ่งเดิม คำพยากรณ์ของผ้านุ่งเสี่ยงทายมีดังนี้
ผ้า ๔ คืบ พยากรณ์ว่าน้ำจะมาก นาที่ดอนสมบูรณ์ นาที่ลุ่มเสียหายบ้าง
ผ้า ๕ คืบ พยากรณ์ว่าน้ำมีปริมาณพอดี นาที่ดอนเสียหายบ้าง นาที่ลุ่มสมบูรณ์
ผ้า ๖ คืบ พยากรณ์ว่าน้ำน้อย นาที่ดอนเสียหายบ้าง นาที่ลุ่มสมบูรณ์
๒.๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพระราชพิธี พระยาแรกนาเข้ากราบถวายบังคม ๓ ครั้ง และเดินเข้าสู่ลานแรกนาเพื่อเจิมคันไถ เจิมพระโค
๒.๕ ถึงเวลามงคลอุดมฤกษ์ โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เชิญเทวรูปเดินนำหน้าพระโค ตามด้วยพระยาแรกนาเดินไถดะโดยรี ๓ รอบ โดยขวาง ๓ รอบ พร้อมทั้งหว่านธัญญพืชจากกระบุงเงิน กระบุงทองของเทพีทั้ง ๔ ลงบนดิน จากนั้นไถกลบอีก ๓ รอบ
๒.๕ พระยาแรกนาและเทพีทั้ง ๔ เดินกลับไปที่โรงพิธีพราหมณ์ เจ้าพนักงานปลดพระโคออกจากแอก พราหมณ์จัดวางอาหารเสี่ยงทาย ๗ สิ่ง คือ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว งา เหล้า น้ำ หญ้า เมื่อพระโคกินสิ่งใด โหรหลวงจะถวายคำพยากรณ์
๒.๖ เจ้าหน้าที่อ่านรายชื่อเกษตรกรผู้ชนะเลิศการประกวดข้าว เพื่อเบิกตัวเข้ารับพระราชทานโล่เกียรติคุณ
๒.๗ พระยาแรกนาและเทพีทั้ง ๔ ขึ้นรถยนต์หลวงจากมณฑลพิธีสนามหลวง ไปยังแปลงนาทดลองในพระราชฐานสวนจิตรลดา หว่านพืชพันธุ์ธัญญหารที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ลงในแปลงนาทดลอง สำหรับนำไปใช้ในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญของปีต่อไป

สาระ
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ถือเป็นพระราชพิธีเก่าแก่ที่กระทำต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ จนถึง พ.ศ.๒๔๗๙ ว่างเว้นไประยะหนึ่งจนถึง พ.ศ.๒๕๐๓ คณะรัฐมนตรีมีมติฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นใหม่อีกครั้ง และทำสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคลแรกนาขวัญเป็นวันเกษตรกรประจำปี
ในสมัยโบราณพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลเป็นพิธีเฉพาะทางพราหมณ์เท่านั้น ต่อมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เพิ่มพิธีทางสงฆ์ด้วย ปัจจุบันยังคงยึดถือตามแบบธรรมเนียมการปฏิบัติโบราณ มีการดัดแปลงบางส่วนเพื่อให้เหมาะสมกับสมัยนิยม เช่น พระราชพิธีพืชมงคลเพื่อทำขวัญพืชพันธุ์ต่าง ๆ ด้วยพิธีทางสงฆ์ จะทำกันที่ท้องสนามหลวง ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญทำที่ทุ่งส้มป่อยนอกเขตพระนครหรือที่อื่น ๆ บ้าง แต่ในปัจจุบันพระราชพิธีพืชมงคลทำที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญทำที่ท้องสนามหลวง เป็นต้น
เป้าหมายสำคัญของการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อเป็นการทำขวัญและเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และเกษตรกรรมก็เป็นอาชีพหลักของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังนั้นประเพณีไทยหลายอย่างมักเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเกษตรกร พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจึงถือว่าเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกประจำปี
กำหนดเวลาการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ทำกันประมาณเดือนหกของทุกปี เพราะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นทำนาในประเทศไทย แต่ไม่มีการกำหนดวันที่แน่นอน เนื่องจากต้องพิจารณาฤกษ์ยามที่เหมาะสมในแต่ละปี
มารยาททางใจ

ลักษณะ
มารยาท

ผู้มีมารยาททางใจคือผู้ที่ได้มีการปรับปรุงจิตใจให้ฝักใฝ่ในศีลธรรมคือเราทุกคนย่อมทราบว่าอะไรถูกอะไรผิดด้วยกันทั้งนั้นและย่อมใฝ่ในคุณงามความดีด้วยกันทั้งนั้น เมื่อเราไม่ชอบอะไรคนอื่นก็คงไม่ชอบเหมือนกัน จึงควรวางตนเป็นคนช่างใช้ความคิดเสมอหลักธรรมเป็นแนวปฏิบัติดังนี้ คือ

มีพรหมวิหาร คือธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐ หรือ ผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่กว้างขวางดุจพระพรหม 4 อย่าง ดังนี้
1.
เมตตา ความรัก ความปรารถนาดี มีไมตรี ต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนประสบประโยชน์และ ความสุข
2.
กรุณา ความสงสาร อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากทุกข์ ใฝ่ใจที่จะปลดเปลื้องยำยัดความทุกข์จากความเดือดร้อนของผู้อื่น
3.
มุทิตา ความเบิกบานยินดี เมื่อเห็นผู้อื่นอยู่ดีมีความสุข ก็มีจิตใจแช่มชื่นเบิกบาน
4.
อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง มีจิตราบเรียบ ไม่เอนเอียงด้วยรักหรือชังเมื่อมีคุณธรรมภายในเป็นพื้นฐาน จิตใจเช่นนี้แล้วย่อมทำให้การแสดงออกภายนอกเป็นไปอย่างบริสุทธิ์หนักแน่นและจริงจังฉะนั้น

บุคคลพึงระวังสำรวมความคิดจิตใจที่มักจะแสดงออกมาให้เห็นทางกิริยาและวาจาให้ถูกต้องแลงดงามเหมาะกับกาลเทศะและแก่บุคคลเวลาอยู่ในสมาคม หรือในที่สาธารณะ เป็นตัวอย่างต่อไปนี้

1.
ในงานมงคลต่าง ๆ ควรแสดงสีหน้าเบิกบานสดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ

2.
ในเวลาเยี่ยมคนป่วย ควรระมัดระวังกิริยาอาการให้เรียบร้อย ใช้คำพูดที่อ่อนโยนเพื่อปลอบใจผู้ป่วย ไม่พูดอะไรที่จะกระทบกระเทือนใจผู้ป่วย ไม่พูดอะไรที่จะกระทบกระเทือนใจผู้ป่วย ควรหาเรื่องสนุกมาเล่าสู่กันฟัง

3.
ในงานเผาศพ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ควรแสดงกิริยาสงบและสงวนความรื่นเริงไว้ให้มากกว่าเวลาอื่นเช่น เผาศพแล้ว ไม่ควรยืนจับกลุ่มสนทนาร่าเริงกันทักทายกันพอสมควรแล้วกลับ ถ้าจะอยู่เผาจริงควรหาที่สมควรนั่งด้วยความสำรวมระวังแต่การไปช่วยงานศพของเราในปัจจุบันมักจะเห็นกันว่าเป็นการษมาคมอย่างทั่วๆไปแขกมักจะอยู่นานโดยถือว่าเป็นกันเองเมื่อเป็นเช่นนี้ก็เกิดจับกลุ่มสนทนาออกรสชาติสนุกสนานขึ้นมาซึ่งเป็นการผิดมารยาทอย่างยิ่งสุภาพชนควรรู้ว่าตนกำลังอยู่ในสังคมใด สถานที่เช่นใด จึงควรพยายามยั้งใจตนเองให้อยู่ในความพอดีเสมอ